วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN

ASEAN :]



สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชาเวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ

อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[5]หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้นเขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558


วัตถุประสงค์

จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้

1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด

2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ

3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ

4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ

5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง

6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ


ประชาคมเศรษฐกิจ

กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

เขตการค้าเสรี

รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน] ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)

เขตการลงทุนร่วม

เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:
เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
สร้างความโปร่งใส
ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม

การแลกเปลี่ยนบริการ

ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว

ตลาดการบินเดียว

แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด

ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน

อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกัน ผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน


ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มรดกโลก

มรดกโลก

   มรดกโลก คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
  
   ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ไทยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534


ประวัติ 

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จากการสำรวจพบว่า มีโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่ไม่ต่ำกว่า 200 แห่ง การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับโบราณสถานของกรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาโบราณราชธานินท์ ข้าหลวงมณฑลกรุงเก่าทำการขุดแต่งพระที่นั่งบางองค์ในเขตพระราชวังหลวง ซึ่งในขณะนั้นรกมาก เนื่องจากอิฐหัก กากปูนทับถมกว่าร้อยปี

ต่อมาในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มโครงการบูรณะพระที่นั่ง และวัดต่างๆ โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล

ปี พ.ศ. 2512 ได้มีโครงการชื่อ โครงการสำรวจขุดแต่งและบูรณะปรับปรุงโบราณสถาน โดยมีความพยายามที่จะประสานงานร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในอันที่จะอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้ ในที่สุด พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของงานชิ้นใหม่ แล้วจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น และเริ่มทำการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเป็นต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ

(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด

(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

แหล่งมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร




เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

ทั้ง 3 อุทยานประวัติศาสตร์นี้ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ

(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด

(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง


 เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทย โดยการลงทะเบียนของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 4,046,747 ไร่ หรือ 6,427 ตารางกิโลเมตร

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ

(viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
(ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
(x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

ลักษณะทางภูมิประเทศ 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ มีลักษณะทางภูประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารที่สำคัญเช่น แม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีความสูงโดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ ประมาณ 800 - 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมีเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งมีความสูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี






 เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว

 แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก

ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา
ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่

1.ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย
2.ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว
3.ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน


เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก 


อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ

(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

มรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่


 เป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ กรุงเดอแบน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง กินพื้นที่อยู่ใน 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น ผืนป่าตะวันออก ซึ่งเปรียบเทียบกับผืนป่าตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก และรอบๆ

ประวัติ 

ช่องดงพญากลาง ในเขตป่าดงพญาเย็น ปัจจุบันมีโรงงานปูนซีเมนต์ไปตั้งอยู่ภายใน
ป่าดงพญาไฟ

แหล่งมรดกโลกผืนนี้ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าดงดิบที่ทึบหนา มีสัตว์มากมาย ทั้ง เสือ กระทิง และช้าง ชุกชุมไปด้วยไข้มาเลเรีย ไม่มีถนนหนทางตัดฝ่าผืนป่า ดั่งเช่นในปัจจุบัน การเดินทางจากกรุงเทพ ไปภาคอีสานนั้น จึงยากลำบากอย่างยิ่ง หลายคนต้องเสียชีวิตด้วยไข้ป่า หรือสัตว์ป่า จนไม่ค่อยจะมีใครกล้าเข้ามาในดินแดนแถบนี้ ผู้คนจึงตั้งชื่อให้ผืนป่าแห่งนี้ว่า ป่าดงพญาไฟ

ป่าดงพญาเย็น 

คำว่า ป่าดงพญาเย็นนั้น ได้ถูกกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานจากบทพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ ได้ทรงเล่าถึงป่าดงพญาไฟไว้ว่า


"ดงพญาไฟนี้ เป็นช่องสำหรับข้ามไปมา ระหว่างเมืองสระบุรีกับมณฑลนครราชสีมาแต่โบราณ ไปได้แต่โดยเดินเท้า จะใช้ล้อเกวียนหาได้ไม่ ด้วยทางต้องเดินตามสันเขาบ้าง ตามไหล่เขาบ้าง คนเดินตามปกตินั้นตั้งแต่ตำบลแก่งคอย ต้องค้างคืนในป่านี้ถึง 2 คืน ถึงจะพ้น"

"

หลังจากมีการสร้างทางรถไฟ และถนนมิตรภาพ จากภาคกลางไปสู่ภาคอีสาน ดงพญาไฟก็ถูกผ่าออกทันที ผู้คนเริ่มที่จะอพยพเข้าไป แล้วถากถางป่าทำไร่ทำนา โดยเฉพาะบริเวณ ฟาร์มโชคชัย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นับตั้งแต่นั้นมา ป่าที่เคยดุร้ายดงพญาไฟ ก็ได้กลายมาเป็นป่าที่ต้องอยู่เงียบๆ ป่าดงพญาเย็นอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา

ตำบลเขาใหญ่ 

แม้การถางป่าโดยการสร้างถนน และรถไฟ ที่เริ่มจากการก่อสร้างจากเขตแดนสุดของป่านั้น จะสามารถปราบป่าอันน่าเกรงขามนี้ได้ แต่ป่านั้น ก็ไม่ยอมให้ใครมารุกรานใจกลางป่าได้

เมื่อราว 70-80 ปีก่อน ได้มีชาวบ้าน จากบ้านท่าชัย และบ้านท่าด่าน จังหวัดนครนายก อพยพมาบุกเบิกพื้นที่ทำกันบริเวณริมหนองขิง กลางผืนป่าเขาใหญ่ อันเป็นทำเลที่ดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ถากถางเพื่อทำไร่พริก และนาข้าว เมื่อเห็นว่าสถานที่นี้ดี ก็กลับไปชวนญาติๆตามขึ้นมาถากถาง จนกลายมาเป็นชุมชนกลางป่าที่มีราว 40 หลังคาเรือน ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีชาวบ้านจากจังหวัดรอบๆยิ่งขึ้นมาถากถางมากขึ้น จนพื้นที่ราว 18,750 ไร่ หรือราว 30 ตารางกิโลเมตร ถูกถากถางไป

ในราวปี พ.ศ. 2465 ชุมชนนี้ได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็น ตำบลเขาใหญ่ ขึ้นกับ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ชื่อ เขาใหญ่ จึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่นั้นมา ทั้งที่ไม่มียอดเขาแห่งใดที่มีชื่อคำว่าเขาใหญ่เลย มีแต่ เขาเขียว เขาร่ม เขาแหลม และเขาสามร้อยยอดเท่านั้น

ด้วยเหตุที่ว่าตำบลเขาใหญ่นี้อยู่กลางใจป่า ไม่มีถนนที่สามารถเข้าไปได้อย่างสะดวก จึงทำให้ชุมชนนี้กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน กลายเป็นแหล่งซ่อนสุมของเหล่าโจรผู้ร้าย ดังนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ทางจังหวัดนครนายก จึงได้ส่งคน นามว่า ปลัดจ่าง มาปราบกวาดล้างโจรบนเขาใหญ่ และก็สามารถปราบได้ โดยใช้เวลานับเดือน แต่ตัวปลัดนั้นก็ต้องมาเสียชีวิตด้วยไข้ป่า ผู้คนจึงเชิดชูด้วยความกล้าหารของท่าน พวกเขาจึงการสร้าง ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ขึ้น เป็นศาลที่ให้ผู้คนกราบไหว้มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อปราบปรามโจรเสร็จ ทางจังหวัดนครนายกเห็นว่าขืนปล่อยให้มีการตั้งตำบลอยุ่เหมือนเดิม นานเข้าก็จะกลายเป็นชุมโจรอีก จึงได้สั่งให้อพยพชาวบ้านกว่า 1,000 คนลงมายังพื้นราบ และสั่งให้ยกเลิกตำบลเขาใหญ่ ปล่อยให้กลายเป็นทุ่งหญ้ารกร้าง และป่าให้เห็นดั่งเช่นให้เห็นปัจจุบันอย่างเดิม

อุทยานแห่งชาติแห่งแรก 

ในปี พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดินทางไปตรวจราชการบริเวณนั้น และมีโอกาสนั่งเฮลิคอปเตอร์สำรวจป่า ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้ห่วงกับการถากถางป่ามากขึ้นทุกวัน ท่านจึงมีคำสั่งให้ทางกระทรวงเกษตรและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2505

มรดกโลก

แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า

ที่ตริง ผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้ถูกคณะกรรมการมรดกโลกของไทยทำเรื่องเสนอขึ้นไปครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2533 แล้ว ซึ่งในขณะนได้เสนอแหล่งธรรมชาติ 3 แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่า เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง 2 แห่งนั้น เล็กเกินไป และยังมีนโยบายไม่เพียงพอ

เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืช และสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว 15,000 ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง 2,500 ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง 16 ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า 800 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 112 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า 209 ชนิด นกกว่า 392 ชนิด และเงือก 4 ชนิด ใน 6 ชนิดที่พบในประเทศไทย


ข้อที่ควรจะปรับปรุง

ยูเนสโกได้เสนอข้อเสนอแนะตามมาอีก 6 ข้อ หลังจากได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่

1.ให้มีการจัดระบบการจัดผืนป่าทั้งหมดแบบบูรณาการ ไม่ใช่แยกจัดแบบต่างคนต่างดูแลเหมือนเช่นที่ผ่านมา

2.รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล เพื่อการบริหารจัดการพื้นป่าอย่างเต็มที่
ดูแลนโยบายและการปฏิบัติใหสอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน

3.ต้องให้การส่งเสริมการสำรวจ และวิจัยสถานภาพของป่า และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง

4.จะต้องหาหนทางเชื่อมผืนป่าต่างๆเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อกับป่าอนุรักษ์ในกัมพูชา

5.ต้องหาทางแก้ปัญหาถนนที่ตัดแยกผืนป่าออกจากกัน โดยจะต้องศึกษา และหามาตรการให้ผืนป่าเชื่อมต่อกันภายในปี พ.ศ. 2550

6.ดำเนินกิจกรรมที่เสริมสร้างความร่วมมือจากชาวบ้าน และชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่า เพื่อเป็นหลักประกันในสถานภาพมรดกโลก

ประวัติการปกครองของไทย

ยุคสมัยกรุงสุโขทัย 



ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน









 



  




พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ





 
ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา
อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้ อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว สำหรับส่วนกลางหรือราชธานี จัดระเบียบบริหารตามแบบเขมร คือ จัดเป็นจัตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีหน้าที่ดังนี้
การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรก
สมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรกกำหนดโดยถือเอารูปแบบการปกครองที่มีแนวเดียวกัน คือ ตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชานีสมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ฝ่ายบริหาร
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการบริการาชการผ่านดินและเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ ดังข้อความในพระไอยการลักษณะเบ็ดเสร็จที่ประกาศเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๒ กำหนดให้แผ่นดินทั่วแว่นแคว้นเป็นที่ที่พระมหากษัตริย์ให้ราษฎรอาศัยอยุ่ห้ามซื้อขายแก่กัน ส่วนการควบคุมปกครองดูแลราษฎรกำหนดไว้ในพระไอยการบานแผนก ความว่า ให้เจ้าพญาแลพญา พระมหาราชครู พระหลวง เมือง เจ้าราชนิกูล ขุนหมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน สมใน สมนอก สังกัดพันทั้งปวงให้ยื่นเทบียรหางว่าวหมู่ไพร่หลวง แลภักพวกสมกำลัง เลกไท เลกทาษ ขึ้นไว้แก่สัศดีซ้ายขวาจงทุกหมู่ทุกกรม? แสดงถึงการบริหาร บ้านเมืองแบบกึ่งกระจายอำนาจและแม้ว่ากฎหมายต่าง ๆ ดูจะให้อำนาจล้นพ้นแก่พระมหากษัตริย์ในการบริหารบ้านเมือง แต่จริง ๆ แล้ว มีข้อจำกัดพระราชอำนาจ เช่น ความเป็นธรรมราชา และพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ที่ โปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นไว้เพื่อทัดทานการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่อาจจะมิชอบด้วยเหตุผล การปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงวางระเบียบโดยแบ่งเมือง เป็นชั้น ๆ คือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และศูนย์กลาง
๑.เวียงหรือเมือง มีขุนเมืองปกครองท้องที่บังคับบัญชาขุนและแขวงในกรุง รักษา ความเรียบร้อยปราบปรามโจรผู้ร้ายและลงโทษผู้ทำผิด
๒.วัง มีขุนวังดูแลราชการเกี่ยวกับราชสำนัก รักษาพระราชมณเฑียร พระราชวังชั้นนอก ชั้นใน พระราชพิธี ทั้งปวง บังคับบัญชาราชการฝ่ายใน รวมทั้งพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎรเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในด้านตุลาการ
๓.กรมคลัง มีขุนคลัง ทำหน้าที่จัดการ เกี่ยวกับพระราชทรัพย์การการภาษีอากร
๔.กรมนา มีขุนนาทำหน้าที่ดูแลการทำไร่ทำนา และจัดหารักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร
เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยุ่ ๔ ทิศ สำหรับป้องกันราชานี ระยะทางไปมาถึงกันภายใน ๒ วัน คือ เมืองลพบุรี เมือนนครนายก เมืองพระปะแดง และเมืองสุพรรณบุรี มีพระ ราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงปกครอง
มีหัวเมืองชั้นในอยู่ถัดออกไป คือ ทิศเหนือมีเมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสิงห์ เมืองแพรก (เมืองสรรค์) ทิศตะวันออกมีเมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ทิศใต้มี เมืองเพชรบุรี ทิศตะวันตกมีเมืองราชบุรี พระมหากษัตริย์แต่งตั้งเจ้าเมืองจากส่วนกลางให้ไปปกครองเมืองเหล่านี้





 
เมืองที่อยู่ไกลออกไป คือ เมืองเจ้าพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองใหญ่ เช่น เมืองนครราชสีมา (โคราดบุรี) เมืองจันทบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเชียงกราน เป็นต้น มีเจ้า นายชั้นสูงไปปกครอง
เมืองที่อยู่ไกลออกไปมาก ประชาชนเป็นชาวต่างชาติต่างภาษากับอยุธยา เรียกว่าเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองกัมพูชา มะละกา และยะโฮว์
การบริหาราชการส่วนภูมิภาคแบบนี้มีข้อเสียตรงที่ว่า หัวเมืองชั้นนอกอยู่ไกลจากราชธานีระยะเดินทางหลายวันมาก ส่วนกลางไม่สามารถควบคุมใกล้ชิด เจ้าเมืองเหล่านี้จึง ปกครองบ้านเมืองอย่างแทบไม่ต้องขึ้นกับการบริหารราชการส่วนกลางเลย ดังนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรัชกาลหรือกษัตริย์ที่ปกครองอ่อนแอ ความวุ่นวายมักจะเกิดขึ้นโดยเจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นอิสระ ทำให้ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของราชอาณาจักร นอกจากนั้น เมืองลุกหลวงหรือเมืองหน้าด่านที่ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงไปปกครองนั้น เป็นเมืองที่มีความสำคัญสำหรับป้องกันราชธานี ดังนั้น จึงต้องมีความเข้มแข็งมั่นคงมาก เมื่อเข้มแข็งและมั่น คงถึงขนาดอาจท้าทายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ โดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ เจ้าเมืองลูกหลวงอาจกระด้างกระเดื่องและที่ร้ายแรงหนักถึงขนาดยกทัพมาช่วงชิงพระราชบัลลังก์ก็มีมาแล้ว
ฝ่ายนิติบัญญัติ
พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายออกมาให้ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติ เป็นกฎหมายที่ พยายามให้ความยุติธรรมแก่สังคม มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาและมีครบทุกด้าน เช่น กฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดี กฎหมายปกครองแผ่นดิน อีกมากมายหลายลักษณะ รวมทุกลักษณะแล้วมีถึง ๑,๖๐๓ บท จำแนกตามรัชกาลได้ดังนี้
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) มีกฎหมายรวม ๑๐ ฉบับ คือ
๑.ลักษณะพยาน ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔
๒.ลักษณะอาญาหลวง ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕
๓.ลักษณะรับฟ้อง ตรา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙
๔.ลักษณะลักพา ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙
๕.ลักษณะอาญาราษฎร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๑
๖.ลักษณะโจร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓
๗.ลักษณะโจร เพิ่มเติม (ว่าด้วยสมโจร) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๐
๘.ลักษณะเบ็ดเสร็จ (ว่าด้วยที่ดิน) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓
๙.ลักษณะผัวเมีย ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔
๑๐.ลักษณะผัวเมีย ( เพิ่มเติม) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) มีเพียงฉบับเดียว คือ กฎหมายลักษณะอาญาหลวง (เพิ่มเติม) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๖ 
ฝ่ายตุลาการ
พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตุลาการโดยผ่านคณะตุลาการ ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งศาล ๔ ประเภท คือ
๑.ศาลกรมวัง พิพากษาคดีราษฎรฟ้องร้องกันเอง
๒.ศาลกรมเมืองหรือนครบาล คดีที่ขึ้นศาลนี้เป็นคดีร้ายแรง เช่น ผู้ร้ายที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน
๓.ศาลกรมนา พิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โค กระบือ
๔.ศาลกรมคลัง พิพากษาคดีเกี่ยวกับพระราชทรัพย์หลวง
การพิจารณาคดีความหรือการพิพากษาคดี ใช้บุคคล ๒ พวกทำหน้าที่ คือ พวกแรกเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา เป็นข้าราชการไทยที่มีหน้าที่รับฟ้อง บังคับคดี และลงโทษ พวกที่สองเรียกว่าลูกขุน ณ ศาลหลวง เป็น พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพระธรรมศาสตร์ จำนวน ๑๒ คน ทำหน้าที่ตรวจสำนวนและตัดสินชี้ขาด วิธีพิจารณาความมีขั้นตอนว่า ผู้จะฟ้องร้องต้องไปร้องอต่อจ่าศาล เมื่อจ่าศาลจดถ้อยคำแล้วจะให้พนักงานประทับรับฟ้อง นำขึ้น ปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่า คดีนี้ควรจะรับพิจารณาหรือไม่ ถ้าลูกขุน ณ ศาลหลวง เห็นว่าสมควรรับ ก็จะชี้ว่า ศาลกรมไหนควรพิจารณาคดีนี้ แล้วจึงส่งสำนวนฟ้องกับตัวโจทย์ไปยังศาลนั้น ๆ ตุลาการจะออกหมายเรียกจำเลยมา ให้การแล้วส่งคำให้การไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ชี้ ๒ สถาน คือ ข้อใดรับกันในสำนน และข้อใดต้องสืบพยาน ถ้าต้องสืบพยานตุลาการจะสืบพยาน สืบเสร็จแล้วจึงส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ชี้ว่าใครผิดใครถูก และลูกขุน ณ ศาลา จะทำหน้าที่บังคับคดีและลงโทษผู้ผิด ถ้าคดีความมีปัญหามาก ตัดสินยาก หร่อคู่คดีไม่พอใจ ไม่ยอมรับคำตัดสินก็ให้นำขึ้นกราบบังคมทูล ดังพระไอยการลักษณะตุลาการ กล่าวไว้ว่า ?อนึ่งความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับ บัญชายากไซร้ ให้ขุนกาลชุมนุมจัตุสดมให้ช่วยว่า ถ้าพิพากษามิได้ให้เอากราบบังคมทูลพระรพุทธฺเจ้าอยู่หัวจะตรัสเอง และในการฟ้องร้องมีกฎหมายกำหนดมิให้ฟ้องร้องบุคคล ๗ ประเภท ดังข้อความต่อไปนี้
ผู้มีอรรถคดีจะมาให้กฎหมายรับฟ้อง ห้ามมิให้รับฟ้องไว้บังคับบัญชานั้น มีในหลักอินทพาษ ๗ คือ คนพิกลจริตบ้าใบ้ ๑ คนเสียจักษุทั้งสองข้างมิได้เห็น ๑ คนเสียหูทัง ๒ ข้างมิได้ยิน ๑ เป็น ง่อยเปลี้ยเดิรไปมามิได้ ๑ เป็นคนกยาจกถือกระเบื้องกะลาขอทาน ๑ เป็นคนสูงอายุศมหลงใหล ๑ เด็กต่ำอายุศมเอาถ้อยคำมิได้ ๑ เป็น ๗ จำพวก
สรุปว่าการปกครองกรุงศรีอยุธยา ระยะแรก รับแบบสุโขทัยมาในข้อที่ว่าปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันในการเน้นความสำคัญของผู้ปกครองคนละลักษณะ คือ สุโขทัยเน้นความสำคัญดุจบิดาปกครองบุตร และใช้คติสกุลวงศ์ ส่วนสมัย กรุงศรีอยุธยาปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริงตามแบบเขมร
การปกครองสมัยธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๒๕)
 การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อพม่าสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงกู้เอกราชกลับคืนมาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
 โดยที่ทรงปราบปรามบรรดาผู้นำกลุ่มอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา และสามารถรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่นไว้ได้
 จากนั้นได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
 สำหรับการปกครองสมัยกรุงธนบุรียังคงใช้รูปแบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก



สมัยรัตนโกสินทร์
การปกครองส่วนกลาง

ทำการปฏิรูปโดยจัดตั้งหน่วยราชการใหม่ เรียกว่า กระทรวง ซึ่งมี ๑๒ กระทรวง ใน พ.ศ.๒๔๓๕ แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีรับผิดชอบงานของกระทรวงนั้นๆ กระทรวงต่างๆ ในสมัยปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีดังนี้
 ๑.กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวประเทศราช 


 ๒.กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช
 ๓.กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ
 ๔.กระทรวงวัง มีหน้าที่รับผิดชอบราชการในพระราชวัง และกรมที่เกี่ยวข้องกับราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 ๕.กระทรวงนครบาล มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจ และราชทัณฑ์ ต่อมาให้รับผิดชอบราชการในเขตแขวงกรุงเทพฯ ราชธานี
 ๖.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเก็บภาษีอากร และเงินที่เป็นรายรับและรายจ่ายในแผ่นดิน
 ๗.กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่บังคับศาลที่ชำระความทั่วทั้งประเทศทั้งแพ่ง อาญา และอุทธรณ์
 ๘.กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทหารบก และทหารเรือ
 ๙.กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การป่าไม้ การทำเหมืองแร่ และการค้าขาย
 ๑๐.กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา และการสาธารณสุข
 ๑๑.กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการก่อสร้าง ทำถนน ขุดคลอง การช่างทั่วไป การไปรษณีย์โทรเลข และการรถไฟ ซึ่งวางแผนไว้ว่าจะมีขึ้นภายหลัง
 ๑๒.กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและงานหนังสือราชการทั้งปวง
ยิ่งกว่านั้น ยังได้ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น ๒ สภา ก็คือ
๑.รัฐมนตรีสภา
๒.องคมนตรีสภา
การปกครองส่วนภูมิภาค
การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยปฏิรูปการปกรองแผ่นดิน มีดังนี้
 ๑.มณฑลเทศาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่สองเมืองขึ้นไป มีข้าหลวงเทศาภิบาล หรือสมุหเทศาภิบาล ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีตัวแทนของกระทรวงอื่นๆ เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติราชการ
 ๒.เมือง หรือจังหวัดในปัจจุบัน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นกับข้าหลวงเทศาภิบาลโดยตรง โดยมีข้าราชการอื่นๆ เป็นผู้ช่วย
 ๓.อำเภอ มีนายอำเภอซึ่งผู้ว่าราชการเมืองแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบ
 ๔.ตำบล มีกำนันซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้าน และผู้ว่าราชการเมืองแต่งตั้ง เป็นผู้รับผิดชอบ
 ๕.หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งราษฎรเลือกตั้งมา เป็นผู้รับผิดชอบ
การปกครองท้องถิ่น
ทรงเล็งเห็นคุณประโยชน์ของการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงได้ทรงให้มีการปกครองท้องถิ่นโดยการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ในระยะต่อมา จึงได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น ถึง ๓๕ แห่ง การปกครองท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาลนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างหัวหน้าหน่วยราชการตำแหน่งต่างๆ ในท้องที่ กับกรรมการอื่นๆ ที่ราษฎรเป็นผู้เลือกขึ้นมา หน้าที่สำคัญๆ ของสุขาภิบาลได้แก่ การรักษาความสะอาด การให้การศึกษาขั้นต้นแก่ราษฎร การอนามัย และการบำรุงรักษาถนนหนทาง

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554




พรรคการเมื่องไทย 54

เบอร์หมายเลข พรรคการเมือง เลือกตั้ง 2554

1เพื่อไทยพรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3ประชาธิปไตยใหม่พรรคประชาธิปไตยใหม่
4ประชากรไทยพรรคประชากรไทย
5รักประเทศไทยพรรครักประเทศไทย
6พลังชลพรรคพลังชล
7ประชาธรรมพรรคประชาธรรม
8ดำรงไทยพรรคดำรงไทย
9พลังมวลชนพรรค พลังมวลชน
10ประชาธิปัตย์พรรคประชาธิปัตย์
11ไทยพอเพียงพรรคไทยพอเพียง
12รักษ์สันติพรรครักษ์สันติ
13ไทยเป็นสุขพรรคไทยเป็นสุข
14กิจสังคมพรรคกิจสังคม
15ไทยเป็นไทพรรคไทยเป็นไทย
16ภูมิใจไทยพรรคภูมิใจไทย
17แทนคุณแผ่นดินพรรคแทนคุณแผ่นดิน
18เพื่อฟ้าดินพรรคเพื่อฟ้าดิน
19พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20การเมืองใหม่พรรคการเมืองใหม่
21ชาติไทยพัฒนาพรรคชาติไทยพัฒนา
22เสรีนิยมพรรคเสรีนิยม
23ชาติสามัคคีพรรคชาติสามัคคี
24บำรุงเมืองพรรคบำรุงเมือง
25กสิกรไทยพรรคกสิกรไทย
26มาตุภูมิพรรคมาตุภูมิ
27ชีวิตที่ดีกว่าพรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พลังสังคมไทยพรรคพลังสังคมไทย
29เพื่อประชาชนไทยพรรคเพื่อประชาชนไทย
30มหาชนรรคมหาชน
31ประชาชนชาวไทยพรรคประชาชนชาวไทย




หัวหน้าพรรคการเมืองไทย 54
ที่
ชื่อพรรคการเมือง
หัวหน้าพรรค
1
พรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
2
พรรคประชากรไทย
นายสุมิตร สุนทรเวช
3
พรรคกิจสังคม
นายทองพูล ดีไพร
4
พรรคมหาชน
นายอิระวัชร์ จันทรประเสริฐ
5
พรรคไทเป็นไท
นายชูชาติ ประธานธรรม
6
พรรคกสิกรไทย
นายจำลอง ดำสิม
7
พรรคกฤษไทยมั่นคง
นายกฤศฌณพงศ์ นุสติพรลภัส
8
พรรคชีวิตที่ดีกว่า
นายวรรธวริทธ์ ตันติภิรมย์
9
พรรคสยาม
นายเพ็ชร สายพานทอง
10
พรรคเพื่อฟ้าดิน
นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ
11

พรรคทางเลือกใหม่
นายการุณ รักษาสุข
12

พรรคความหวังใหม่
นายชิงชัย มงคลธรรม
13

พรรคเพื่อนเกษตรไทย
นายทรงเดช สุขขำ
14

พรรคพลังเกษตรกร

นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ
15
พรรคประชาราชนายเสนาะ เทียนทอง
16

พรรคดำรงไทย
นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
17

พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
นายเอียน คิดดี
18
พรรคอาสามาตุภูมิ
นายมนตรี เศรษฐบุตร
19

พรรคชาติสามัคคี
นายนภดล ไชยฤทธิเดช
20

พรรคเพื่อไทย

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
21

พรรคเพื่อแผ่นดิน
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
22

พรรคอธิปไตย
นายวีระศักดิ์ อุปถัมภ์
23

พรรครวมใจไทย-ชาติพัฒนา
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
24

พรรคแทนคุณแผ่นดิน
นายวิชัย ศิรินคร
25

พรรคชาติไทยพัฒนา
นายชุมพล ศิลปอาชา
26

พรรคอนาคตไทย
นายทะนงศักดิ์ ประดิษฐ์
27

พรรคเทียนแห่งธรรม
นายธนากร วีระกุลเดชทวี
28

พรรคอนุรักษ์นิยม
นายภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง
29

พรรคธรรมาภิบาลสังคม
นายสุรพงษ์ ภูธนะภิบูล
30

พรรคสุวรรณภูมิ
ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
31

พรรคพลังไทย
นางวัชรียา ธนะแพทย์
32
พรรคมาตุภูมินายวิวัฒน์ ประวีณวรกุล
33

พรรคภูมิใจไทย

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
34

พรรคเพื่อประชาชน
นายธนาณฐ ศรีวัฒนะ
35

พรรคพอเพียง
นางวันเพ็ญ เฟื่องงาม
36

พรรคต้นตระกูลไทย
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
37

พรรคเงินเดือนประชาชน
นายอิ่นแก้ว เทียนแก้ว
38

พรรคธรรมาธิปัตย์

นายธันวา ไกรฤกษ์
39
พรรคขัตติยะธรรม
ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ จินทิมา
40

พรรคประชาภิวัฒน์
นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี
41

พรรคแนวร่วมมาตุภูมิ
นายสากล ศรีเสมอ
42

พรรคพลังพัฒนา
นายสนิท มาประจวบ
43

พรรคประชาธรรม

นายมุคตาร์ กีละ
44
พรรครวมไทยพัฒนา
นางสาวกิ่งกมล วายุโชติ
45
พรรคปวงชนชาวไทยนายเดชชาติ รัตนวรชาติ
46
พรรคการเมืองใหม่

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข



ภาพหัวหน้านักการเมือง